Original Article/นิพนธ์ต้นฉบับ: ผลการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน...

(EFFECT OF THE USE OF NURSING SERVICE MODEL BASED ON SWANSON’S CARING THEORY IN ELDERLY     TOWARDS CARING BEHAVIOR AS PERCEIVED BY PATIENT)

นางสาวเฉลิมศรี  ทรัพย์กอง                    
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล    

ความเป็นมาของปัญหา

ปัจจุบันการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วประกอบกับภาระงานที่
เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบ     ทำให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งเน้นไปที่งาน ให้เวลาและความสนใจไปที่เทคโนโลยี   เน้นด้านวัตถุสูง ทำให้ขาดมิติทางด้านจิตสังคม และจิตวิญญาณ
การดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ พยาบาลจะต้องทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการดูแลที่เป็นการ
สื่อสารบอกถึงการแสดงความเอาใจใส่     ต้องการช่วยเหลือ เพื่อให้การดูแลตรงตามความต้องการของผู้ป่วย  ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองได้รับการดูแล จะทำให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
โรงพยาบาลศิริราชมีนโยบายเน้นคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมและมีปรัชญาของ
องค์กรเน้น “คุณภาพการดูแลผู้ป่วยจะต้องเป็นการดูแลที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ จิตวิญญาณ”
ผู้วิจัยซึ่งเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยในงานการพยาบาลจักษุวิทยา และโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
โรงพยาบาลศิริราช สนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมเอื้ออาทรตามการรับรู้ของผู้ป่วยโดยใช้ทฤษฎีการดูแล ของสแวนสัน ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับผู้สูงอายุโรคตา   เนื่องจากแนวคิดการดูแลของสแวนสันเป็นการดูแลบุคคลแบบองค์รวมที่ชัดเจนเป็น รูปธรรมประกอบด้วยแนวคิดการดูแล 5   
ประการ ซึ่งนำไปปฏิบัติโดยไม่แยกส่วน

คำถามการวิจัย

1.  ระดับการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วยสูงอายุโรคตาจะอยู่ใน ระดับใดภายหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน และภายหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลแบบมอบหมายงานตามหน้าที่เป็น อย่างไร
2.ค่าเฉลี่ยการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วยสูงอายุโรคตา ภายหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน   สูงกว่าหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลแบบมอบหมายงานตามหน้าที่หรือไม่
วัตถุประสงค์การวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วยสูงอายุโรคตา ภายหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันและ ระดับการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาล แบบมอบหมายงานตามหน้าที่
2.เปรียบเทียบการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วยสูงอายุโรคตา ภายหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันกับ กลุ่มที่ได้รับรูปแบบการบริการการพยาบาลแบบมอบหมายงานตามหน้าที่

สมมติฐานการวิจัย

ค่าเฉลี่ยการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทร ของผู้ป่วยสูงอายุโรคตาหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการ ดูแลของสแวนสัน สูงกว่าการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลแบบมอบหมายงานตามหน้าที่

ขอบเขตของการวิจัย

1.เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)     
2.มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จัดทดลองที่หอผู้ป่วยเฉลิมพระเกียรติ 4
3.กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยสูงอายุโรคตาที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสามัญโรงพยาบาล
ตติยภูมิ
ตัวแปรต้น คือ รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน
ตัวแปรตาม คือ การรับรู้พฤติกรรมเอื้ออาทรของผู้ป่วยสูงอายุโรคตา
คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
รูปแบบ หมายถึง แบบแผนที่ประกอบด้วยชุดของขั้นตอนการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ
รูปแบบการบริการการพยาบาลที่ใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน   หมายถึง  แบบแผนการให้การบริการพยาบาลที่ได้จัดทำเป็นคู่มืออธิบายขั้นตอนการดูแลที่ ใช้ในการปฏิบัติงานประกอบ ด้วยปัจจัยการดูแล 5 ประการ
1.  การรู้จักผู้ป่วยในฐานะบุคคลหนึ่ง (knowing)
2.  การเฝ้าดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ (being with)
3.  การช่วยเหลือทำกิจกรรมต่างๆ (doing for)
4.  การสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีความสามารถ (enabling)
5.  การดำรงไว้ซึ่งความเชื่อและศรัทธาของผู้ป่วย (maintain believe)
รูปแบบการบริการการพยาบาลแบบการมอบหมายงานตามหน้าที่  หมายถึง
การมอบหมายหน้าที่แก่พยาบาลเป็นอย่างๆ ไป
มุ่งให้งานเสร็จสิ้นโดยเน้นที่การรักษา
ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากพยาบาลหลายคน
ตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย
การรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วย หมายถึง
ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นผลมาจากที่ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์
เกี่ยวกับกิจกรรมหรือพฤติกรรมการช่วยเหลือ
จากพยาบาลที่ผู้ป่วยติดต่อสัมพันธ์ด้วย
ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคตาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีที่เข้ามารับการรักษาในงานการพยาบาลจักษุวิทยาและโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลในการสื่อให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคตารับรู้ถึงการดูแลเอื้ออาทรได้อย่างครบถ้วน
2.  เพื่อเป็นแนวทางให้พยาบาลวิชาชีพนำรูปแบบพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรตามแนวคิดของสแวนสันไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคตา

กรอบแนวคิดในการวิจัย


เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาของผู้ป่วยสูงอายุโรคตา
แนวคิดและทฤษฎีการดูแลเอื้ออาทร
ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน
กระบวนการพยาบาล
การมอบหมายงาน
ความสัมพันธ์ของทฤษฎีการดูแลของสแวนสันกับการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วย

วิธีดำเนินการวิจัย

เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง
ประชากร คือ ผู้ป่วยสูงอายุโรคตาเพศหญิงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ามารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสามัญ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
1.กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยสูงอายุโรคตาเพศหญิงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่เข้ามารับการรักษาไม่น้อยกว่า 3 วัน ในหอผู้ป่วยเฉลิมพระเกียรติ 4 โรงพยาบาลศิริราช แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน  
การหากลุ่มตัวอย่าง จากสถิติเก็บข้อมูลผู้ป่วย 1 เดือน (หอผู้ป่วยเฉลิมพระเกียรติ 4) ประมาณ 200 คน ตามเกณฑ์ของกลุ่มตัวอย่าง 15% เท่ากับ 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
มี 2 ประเภท คือ
1.   เครื่องมือในการดำเนินการทดลอง ได้แก่
1.1  รูปแบบพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันในผู้สูงอายุโรคตา
ขั้นตอนการปฏิบัติงานตามรูปแบบประกอบด้วย 8 ขั้นตอน
1 การรับรายงานส่งเวร
2 ศึกษาจากใบมอบหมายงาน
3 การประชุมปรึกษาทางการพยาบาลก่อนการปฏิบัติงานที่เน้นการใช้แนวคิดของสแวนสัน
4 การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล
5 วิเคราะห์ข้อมูลกำหนดเป็นข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
6 จัดทำแผนการปฏิบัติตามแนวคิดการดูแลของสแวนสัน
7 ปฏิบัติตามแผนการพยาบาล
8 การประชุมปรึกษาทางการพยาบาลหลังการปฏิบัติงาน
1.2  โครงการอบรมความรู้ในการปฏิบัติงานตามรูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรตามการรับรู้ของผู้ป่วยสูงอายุโรคตา
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1.เครื่องมือในการดำเนินการทดลอง
1. รูปแบบพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของ       สแวนสันในผู้สูงอายุโรคตา
1.1  ศึกษาตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของสแวนสัน
1.2   ประสบการณ์ตรงที่ได้จากการทำงานโดยใช้แนวคิดการดูแลของสแวนสัน และสร้างรูปแบบประกอบด้วยแนวคิดของสแวนสันที่บูรณาการการดูแลผู้สูงอายุโรค ตา เน้นปัจจัยการดูแล 5 ด้าน
1.3  กำหนดวัตถุประสงค์ของรูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันตามการรับรู้ของผู้ป่วย
1.4  จัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลวิชาชีพใช้เป็นเครื่องมือดูแลผู้ป่วย
1.5  เสนอคู่มือต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
1.6  ปรับปรุงคู่มือตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
1.7  จัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์
2. โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง แนวคิดการดูแลของสแวนสันที่บูรณาการการดูแลผู้สูงอายุโรคตา ประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญด้วยการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายในเนื้อหา เฉพาะ
มีวิธีการดำเนินการดังนี้
2.1 เขียนโครงการโดยศึกษาจากตำรา วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.2 นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความครอบคลุม
และถูกต้อง
ข. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรตามการรับรู้ของผู้ป่วยรวมทั้งหมด 31 ข้อ ผู้วิจัยสร้างเองโดยศึกษาจากแบบจัดการดูแลเอื้ออาทรเชิงวิชาชีพ (Caring Professional Scale) ของสแวนสัน
ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ(Likert Scale) และเกณฑ์การให้คะแนนมี 4 ระดับคะแนนดังนี้
ระดับคะแนน 4 – ข้อความในหัวข้อประเมินเป็นจริงอย่างมาก
ระดับคะแนน 3 – ข้อความในหัวข้อประเมินเป็นจริงปานกลาง
ระดับคะแนน 2 – ข้อความในหัวข้อประเมินเป็นจริงน้อย
ระดับคะแนน 1 – ข้อความในหัวข้อประเมินไม่เป็นจริงเลย
การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคตาที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง
- วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบสอบถามโดยรวม .95 และเป็นรายด้านดังนี้
1. ค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้พฤติกรรมการรู้จักผู้ป่วยในฐานะบุคคลหนึ่ง เท่ากับ.82
2. ค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้พฤติกรรมการเฝ้าดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอเท่ากับ.85
3. ค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้พฤติกรรมการช่วยเหลือทำกิจกรรมต่างๆ เท่ากับ.80
4. ค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้พฤติกรรมการสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีความสามารถ เท่ากับ.89
5. ค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้พฤติกรรมการดำรงไว้ซึ่งความเชื่อและศรัทธาของผู้ป่วย เท่ากับ.87
จริยธรรมในการวิจัย
ขอจริยธรรมในคน    
กลุ่มตัวอย่างลงนามแสดงเจตนาเข้าร่วมวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย
1.ขั้นเตรียมดำเนินการทดลอง
-  จัดเตรียมเอกสาร
-  ผู้วิจัยขอความร่วมมือ
-  อบรมพยาบาลวิชาชีพ
-  ผู้วิจัยประชุมร่วมกับพยาบาลวิชาชีพเพื่อทำความเข้าใจ
ในการใช้คู่มือ
-  ฝึกปฏิบัติตามรูปแบบ
2.  ขั้นดำเนินการทดลอง
หัวหน้าหอผู้ป่วยมอบหมายงานให้คำปรึกษาและนิเทศ
พยาบาลลงนามยินยอมเป็นรายบุคคลปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบการบริการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีของสแวนสันกับผู้ป่วยทุกรายทุกเวร
ผู้วิจัยให้คำปรึกษาในการใช้คู่มือตรวจสอบคุณสมบัติกลุ่มตัวอย่างโดยสำรวจผู้ป่วยใหม่ทุกวันและใส่ไว้ในบัญชีรายชื่อ
กลุ่มควบคุมผู้วิจัยเลือกผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการบริการการ พยาบาลแบบมอบหมายงานตามหน้าที่ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม 2551 – 5 เมษายน 2552
กลุ่มทดลอง ผู้วิจัยเลือกผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันระหว่างวันที่ 21 เมษายน 2551 – 23 พฤษภาคม 2552
หัวหน้าทีม มีบทบาทเดียวกันทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
3.  ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.  เลือกลักษณะผู้ป่วยตามกลุ่มตัวอย่าง
-  กลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลภายหลังจากผู้ป่วยได้รับการใช้รูปแบบการบริการพยาบาลแบบมอบหมาย งานตามหน้าที่ ในหอผู้ป่วยเฉลิมพระเกียรติ 4 ในช่วงระหว่างวันที่ 27 มีนาคม 2551ถึงวันที่ 5 เมษายน 2551 เวลา 08.00 – 20.00 น. จำนวน 30 คน
-  กลุ่มทดลอง เก็บข้อมูลภายหลังจากผู้ป่วยได้รับการใช้รูปแบบการบริการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎี การดูแลของสแวนสัน ในหอผู้ป่วยเฉลิมพระเกียรติ 4 ในช่วงระหว่างวันที่ 21 เมษายน 2551 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 เวลา 08.00 – 20.00 น. จำนวน 30 คน
2.  ผู้เข้าร่วมวิจัยลงชื่อในหนังสือแสดงเจตนายินยอม
3.  แจกแบบสอบถามให้ผู้ป่วย ผู้วิจัยสัมภาษณ์ด้วยตนเองใช้เวลา 30 นาที
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
1.  ข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ
2.  แสดงระดับค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ระดับการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วย ในกลุ่มที่ใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันและ ระดับการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาล แบบมอบหมายงานตามหน้าที่
3.   เปรียบเทียบระดับคะแนนการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วยหลังการ ใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลแบบมอบหมายงานตามหน้าที่และการใช้รูปแบบการ บริการโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ Independent t-test

ผลการวิจัย

1.ระดับการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วย สูงอายุโรคตา ภายหลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลแบบมอบหมายงานตามหน้าที่ อยู่ในระดับปานกลาง หลังการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันอยู่ใน ระดับมาก
2.  ค่าเฉลี่ยการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วยสูงอายุโรคตาภายหลัง การใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน   สูงกว่าการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลแบบมอบหมายงานตามหน้าที่อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ .05
 

ข้อเสนอแนะ

1.    ด้านบริหารการพยาบาล
ควรมีนโยบายและส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาการจัดทำรูปแบบการบริการการพยาบาล ที่ใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันโดยจัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานด้านพฤติกรรม สำหรับพยาบาลวิชาชีพใช้ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในหน่วยงาน
2.    ด้านการปฏิบัติการพยาบาล
นำรูปแบบการบริการการพยาบาลที่ใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันไปเป็นแบบอย่างและ ปรับใช้ในผู้ป่วยอายุรศาสตร์ที่มีความต้องการเฉพาะที่คล้ายกับผู้ป่วยสูง อายุโรคตา เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไต
3.ด้านการศึกษา
3.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้นำคู่มือรูปแบบพฤติกรรมเอื้ออาทรโดยใช้ทฤษฎีการ ดูแลของสแวนสันในผู้สูงอายุโรคตาไปใช้ในการประกอบการอบรม ฝึกปฏิบัติการพยาบาล  และ ส่งเสริมให้พยาบาลรุ่นใหม่ได้ปฏิบัติการพยาบาล
3.2 หัวหน้าหน่วยงานจัดปฐมนิเทศพยาบาลวิชาชีพที่จบใหม่ในหอผู้ป่วยโดยมีพี่เลี้ยงและฝึกปฏิบัติก่อนการปฏิบัติงาน
1.ด้านการวิจัย
ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบด้านพฤติกรรมแต่ละด้านตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลของสแวนสัน

บรรณานุกรม

1.กิตติพร เอี๊ยะสมบูรณ์. (2537). การศึกษาปัจจัยสนับสนุนการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลประจำการโรงพยาบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริการการพยาบาล  บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2.กาญจนี นิติเรืองจรัส.(2545). การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้มในผู้ป่วยโรคตา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
3.กันยารักษ์  เงยเจริญ.(2541).การศึกษาความเศร้าโศกและความต้องการการดูแลของมารดาที่ สูญเสียบุตรจากการแท้งเอง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล
4.แม่และเด็ก,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
5.กุสุมา  ปิยะศิริภัณฑ์.(2545).พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของพยาบาลตามการรับรู้ของ ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล
6.อายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7.เกษม  ตันติผลาชีวะและกุลยา  ตันติผลาชีวะ.(2528).การรักษาสุขภาพในวัยสูงอายุ.กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
8.จารุวรรณ  ต. สกุล.(2532).กระบวนการพยาบาลทางจิตสังคม.โครงการตำราศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล,กรุงเทพฯ.
9.จรัสวรรณ  เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ.(2536).การพยาบาลผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
10.ทัศนา  บุญทอง.(2543).ปฏิรูประบบบริการพยาบาล ที่สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต.กรุงเทพฯ : ศิริยอดการพิมพ์.
11.นิศา  ชูโต.(2525).รายงานวิจัยเรื่องคนชราไทย.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12.บุปผา  ชอบใช้.(2543).ความสามารถทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยในมิติจิตวิญญาณ. รายงานการวิจัย.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
13.บรรลุ  ศิริพานิช.(2542).คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เรืองแก้วการพิมพ์.
14.ปิญากรณ์  ชุตังกร และคณะ.(2537).มิติการดูแลของการพยาบาลไทย.กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
15.ปรียา ปรียาชีวะ(2543).การศึกษาความต้องการพยาบาลและการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับที่ หน่วยตรวจโรคหู คอ จมูก ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
16.พยอม  อยู่สวัสดิ์. (2539).  การดูแลแนวคิดและทฤษฎีการพยาบาลเชิงมนุษย์ธรรมนิยม. วารสารพยาบาลศาสตร์,คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 14(1), 27.
17.พยอม  อยู่สวัสดิ์.(2537). ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยในการปฏิบัติการพยาบาลวิชาชีพ:การศึกษาเชิงคุณภาพ. เอกสารการประชุมวิชาการสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราช ครั้งที่8.กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล,2537.
18.พวงรัตน์  บุญญานุรักษ์. (2536).  50 ปี ชีวิตและผลงานอาจารย์ พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพยาบาลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
19.พวงรัตน์  บุญญานุรักษ์. (2546).ขุมปัญญาทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : พระราม 4 ปริ้นติ้ง.  
20.พวงรัตน์  บุญญานุรักษ์. (2522).การจัดการเพื่อคุณภาพการดูแล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทยเขษม.
21.เพ็ญจันทร์  แสนประสานและคณะ.(2549).เส้นทางสู่การพยาบาลยอดเยี่ยม. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์.
22.ฟาริดา  อิบราฮิม.(2541).สาระการบริหารการพยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนา  ตำราสาขาการพยาบาล.   
23.ฟาริดา  อิบราฮิม.(2536).นิเทศวิชาชีพ และจริยศาสตร์ทางการพยาบาล.คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
24.ฟาริดา  อิบราฮิม. (2542).กระบวนการพยาบาล. กรุงเทพฯ :  บุญศิริการพิมพ์. มหาวิทยาลัยมหิดล.
25.ฟาริดา  อิบราฮิม. (2546).ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล.บริษัทสามเจริญพาณิชจำกัด.
26.ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
27.เรณา  พงศ์เรืองพันธุ์.(2539).การวิจัยทางการพยาบาล.ชลบุรี:คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย
28.บูรพา. ลินจง  โปธิบาล , พิกุล บุญช่วง , และวารุณี  ฟองแก้ว. (2540). ความเข้าใจในกระบวนการพยาบาลยุคหน้า. กรุงเทพฯ : แมคกรอฮิล.
29.ละออ  หุตางกูร.(2534).หลักพื้นฐานเพื่อการพยาบาลชีว-จิต-สังคม,กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
30.ศิริพร  ตันติพูนวินัย.(2538).เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ เรื่องกลยุทธการสร้างคุณภาพการบริการ.กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
31.ศุภรัตน์  แจ่มแจ้งและวิรดา อรรถาเมธากุล.(2547).พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล  และการรับรู้ของผู้รับบริการต่อพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.  
32.สบง ศรีวรรณบูรณ์.(2547).การวิเคราะห์สภาพตาสำหรับการแก้ไขสายตาผิดปกติ โดยCorneal TomographyและWavefront Rensing.กรุงเทพฯ:งานตำราวารสารและสิ่งตีพิมพ์ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. มหาวิทยาลัยมหิดล.
33.สมจิต  หนุเจริญกุล. (2544). การพยาบาล : ศาสตร์ของการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: (พิมพ์ครั้งที่ 2). วี เจ พริ้นติ้ง.
34.สมจิต  หนุเจริญกุล. (2537). คุณค่าของการพยาบาล.วารสารพยาบาล.43(2) :99-111.
35.สัมฤทธิ์ ต่อสติ.(2544).บทบาทพยาบาลในการบริการสุขภาพแบบองค์รวม.วารสารพยาบาล,50(4).
36.สาลี  เฉลิมวรรณพงศ์ . (2544).  กระบวนการพยาบาลหลักการและการประยุกต์ใช้. สงขลา : อัลลายด์เพรส.
37.สิริกาญจน์  บริสุทธิบัณฑิต.(2540).ผลของการใช้ระบบการหมอบหมายงานแบบพยาบาลเจ้าของไข้ ต่อการใช้กระบวนการพยาบาล ความเป็นอิสระและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาล.
38.สิวลี  ศิริไล.(2542).จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
39.สุจิตรา  เหลืองอมรเลิศ ,  สุจิตรา  ลิ้มอำนวยลาภ , วิพร  เสนารักษ์. ( 2543).  กระบวนการพยาบาล : ทฤษฎีและการนำไปใช้.  (พิมพ์ครั้งที่ 14). ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
40.สุจิตรา  เหลืองอมรเลิศ และเอื้อมพร ทองกระจาย.(2543).กระบวนการพยาบาล วิวัฒนาการ ความสำคัญ แนวคิดและทฤษฎี . ในสุจิตรา  เหลืองอมรเลิศ ,  สุจิตรา  ลิ้มอำนวยลาภ ,
41.วิพร  เสนารักษ์. (บรรณาธิการ). โครงการตำราภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และ ศัลยศาสตร์(หน้า5). ขอนแก่น :คณะพยาบาลศาสตร์.
42.สุภาพร  ดาวดี. (2548).  การใช้ทฤษฎี การดูแลอย่างเอื้ออาทรในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล. วารสารคุณภาพการพยาบาลศาสตร์ . 14(1).26.
43.สุภัทร  ฮาสุวรรณกิจ.(2546).สาธารณสุขชนบท.วารสารโรงพยาบาลชุมชน,4(4),10-16.
44.เสาวลักษณ์  บรรจงเขียน.(2549). ผลการใช้รูปแบบที่บูรณาการระบบพยาบาลเจ้าของไข้กับทฤษฎีการพยาบาลของวัทสัน ต่อการรับรู้พฤติกรรมการพยาบาลองค์รวมของผู้ป่วยและของพยาบาลวิชาชีพแผนก ฉุกเฉิน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.
45.อวยพร  ตัณมุขยกุล (2538).  การตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ โดยใช้กระบวนการพยาบาล. การประชุมวิชาการเรื่อง การพยาบาลในนิติจิตวิญญาณ :  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ 26-27 พ.ย. 2533  ณ  อาคารพินยพัฒน์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
46.อารี  ชีวเกษมสุข. (2548).  ทฤษฎีการดูแล (Theory of Caring) . เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา M 11004 ทฤษฎีการพยาบาล. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.
47.อารี  ชีวเกษมสุข (2541).การนำศาสตร์การดูแลไปใช้ในการเรียนการสอนทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์,16(4), 15-21.
48.อารี  ชีวเกษมสุข (2542). การนำทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัทสันไปใช้ในการเรียนการสอนทางการพยาบาล.วารสาร พยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 11( 1 ), 6-19.    
49.อภิชาติ  สิงคาลวณิชและญาณี  เจียมไชยศรี (บรรณาธิการ).(2540).จักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: โฮลิสติกพับลิสชิ่ง.
50.อิชยา สุวรรณกุล, และนงนุช  เชาวนศิลป์, (2542).พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลผู้ใช้บริการ. วารสารวิจัยทางการพยาบาล, 3(1),45-60 .
51.อุทัย รัตนิน. (2536)นัยน์กาย นัยน์ใจ.กรุงเทพมหานคร:บริษัทส่องสยาม จำกัด , 2536:87.
52.อัมพร โอตระกูล(2527).สุขภาพจิต.กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.
53.Amitage,P.(1983). “Strategies for dealing with comfort ”,Nursing Mirror,156(13) : 23.
54.Benner,P.,&Wrubel,J(1989).The primary of caring :Stress and coping in health and Illess. Menlo Park,CA:Addison – Wesley.
55.Blair,F.,et al. (1982). Primary nursing in the emergency department:Nurse and patient satisfaction.
56.Journal of Emergency Nursing 8 (4), 181-186.
57.Blattner , B. (1981).  Holistic nursing. Englewood Cliffs, NJ : Prentice – Hall.
58.Brown,L.(1986).The experience of care:Patient perception. Topic in Clinic Nursing ,8(25). 56-602 .
59.Brown, L., &Dooly,F. (1986). Being human. In S.D.Ruppert, J.G.Kernicki, & J.T. Dolan (Eds), Dolan’s critical care nursing : Clinical management through the nuring Process (2nded) (pp.55-59). Philadelphia: F.A.Davis.
60.Bucher,L.,Melander,S.(1999). Critical care nursing. Philadelphia:W.B. Saunders.
61.Cronin S; & Harrison,B.(1988).Important of nurse caring behavior as perceived by patients after myocardial infarction. Heart&Lung,17(14)374-380.
62.Crowther,J.(1955).Oxford advanced learner dictionary (5 th ed.) Bangkok : Oxford University Press.
63.Delore’s A. Gaut. (1993).  A Global Agenda for Caring.  National  League for Nursing. Press350 Hudson street , New York.
64.Euswas,P (1993). The actualized caring moment:A grounded of caring in nursing practice. In D.A.Gaut (Ed.),A global agenda for caring .(pp.309-326).Newyqrk: National League for Nursing Press.
65.Fry,S.T.(1994).Ethics in Nursing Practice:A Guide to Ethics Decision Making. Geneve:The International council of Nurses.
66.G Watson , M.K. (1999).  What is Know  about caring in nursing science : A literaty meta – analysis.In A.S. Hinshaw , S.L. Feedthan , 8 JF.L. (Eds.) Hand look of  Clinical nursing research (p.31).California : thousand Oaks.
67.Heckheimer,EF.(1989).Health promotion of the Elderly in the Community . Philadelphia: W.B.  Saundess.
68.Hudak, C.M,Gallo,B.M.,&Morton. (1998).Critical care  nursing : A holistic approach. (7 th ed.) Philadelphia: J.B.Lippncott.
69.Iyer, P. W., Taptich , B.J., & Bernocchi – Losey, D. (1995). Nursing process and Nursing diagnosis. Califronia : W.B. Sanunders.
70.Komorita,N.,Doerhring,K.M.,& Hirchert,P.W.(1991) .Perceptions of caring by nurse educators.Journal of Nursing Education, 30(1),23-29.
71.Larson,P.J.(1984).Important nurse caring behavior perceived by patient with cancer.Oncology Nursing Forum.11.( 46-50 ) ถ(1986)
72.Leininger,M.M.(1991). Culture care diversality and universality : A theory of nursing. National League of nursing press, New York.p.5-68.
73.Leininger,M.M.(1988). Caring an essential human need:Proceeding the three national caring conferences.Detroit:Wayne State Universtity Press
74.Marckx, B.B.(1995) . Watson s theory of caring : A model for implementation in practice.
75.Journal of Nursing Care Quality,9(4), 43-54. Marram,Gwen D And Others.(1974) . Primary Nursing:A Mode for Individualized Care. Saint Louis:The C.V.Most Company.
76.Mathey,M.(1973) Primary Nursing is alive and well in the hospital. American Journal of nursing,73(1) 83-87.
77.Mattenon, M.A., McConnell,E.S.&Linton,A.D.(1997).Gerontological nursing:Concept and practice(2nd ed). Philadelphia:W.B. Saunders.
78.Mayeroff,M.(1971).On Caring .New York:Pereninal Library Harper & Row.
79.Miller,K.M. et al.,(1990) Relaxation technique and postoperative pain in patients undergoing cardiac surgery. Heart & Lung,19(2) :136-146.
80.Montagu, A. (1978). Touching. (2nd ed.) New York : Harper & Row.
81.Morse,J.M. et al.(1990).Concepts of caring and caring as a concept . Advances in nursing Science,13(1),1-14.
82.Nightingale,F. (1859). Notes on Nursing. Philadelphia:J.B.Lippincott. Parsons,E.,Kee,C.C.& Grey,P.(1993). Perioperative Nurse Caring Behaviors.American    
83.Journal of Nursing,57(5),1106-1114.  Polit,D.F,&Hungler,B.P.(1999).Nursing Research:Principles and method. Philadelphia::Lippincott.
84.Potter, P.A.,& Walsh, B.M. (1983). Basic nursing theory and practice. St. Louis : Mosby-Year book.
85.Roach, M.S. (1993). The human act of caring. Ottawa Ontalio:Canadian Hospital Association Press.
86.Rosenthal, KA (1992 Nov.-Dec.) Coronary care patients’ and nurses’ perceptions of Important Nurse caring behaviors. Heart & Lung : Journal of Critical Care,21 (6) ,536-539.
87.Swanson,K.M.(1991). Empirical development of a middle range theory of caring.
88.Nursing  Research, 40(3),161-166. Swanson, K.M.(1998) . Caring made visible.Creative Nursing Journal, 4(4),8-11.
89.Swanson, K.M.(1999) . What is know about caring in nursing science:A literacy meta-analysis. In A.S.Hinshaw, S.L.Feedtham,& J.L.F. Shaver (Eds.),
90.Handbook of clinical nursing research (pp.31-60). California:Thousand Oaks.
91.Swanson, K.M. (in press) A program of research on caring.In M.E. Parker (Ed.),Nursing Theories and Nursing Practice,F.A.Davis Co.,Forthcoming .  
92.Strickland,D.(1996).Apply Watson s theory of caring among elders. Journal of Jerontological Nursing,22(7) ,6-1. .
93.Watson.J. (1988).  Nursing : Human Science and human care . New York : National League for Nursing.
94.Watson .J. (1999).  Nursing : human science and human care : A theory of Nursing. Boston : National League for Nursing.
95.Watson, J. (1985). Nursing : The Philosophy and Science of caring. Boston, Little Brown.
96.Watson, J. (1989). Watsonۥs Philosophy and Theory of Human Caring in Nursing .In Conceptual Models for nursing practice. Riehl-Sisea, (p.219-236). C.T :Appleton & Lange.
97.Webb,J.M.Carlton,E.F.&Geehan,D.M.(2000) . Delirium in the intensive care unit; Are we helping the patient?. Critical Care of  Nursing Quality, 22(4),47-60.
98.Wolf , Z.R. (1986). The caring concept and nurse indentified caring behaviors. Topic clini nurse, 8(2) . 84-93.
99.WHO. Expert Committee.(1989) Health of elderly.WHO.Technical Report SeriesNo.779.
100.Yura ,H, & Walsh,M.B.(1993).The nursing process:Assessing planning, implementation, Evalution (4th .ed.).New York:Appleton-Century Crofts.
101.Yoder-Wise,P.S.(2003).Leading and Managing in Nursing. 3rded. Missouri :Mosby, Inc.

ประกาศคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ