Review Article: Airway Management การดูแลระบบทางเดินหายใจ

จิตติมา  นุริตานนท์            
พยาบาลวิชาชีพ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี        

การดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจในระหว่างการกู้ชีพก็เพื่อคงปริมาณออกซิเจนใน ร่างกายให้เพียงพอและกำจัดแกสคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้ลดลง  การช่วยหายใจในขณะกู้ชีพนั้นควรให้ปริมาณtidal volumeและอัตราการช่วยหายใจแก่ผู้ป่วยเหมือนกับการหายใจในคนปกติ  การกู้ชีพสามารถช่วยให้มีปริมาณเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายกลับคืนมา เพียง25-33%ของcardiac outputปกติเท่านั้น ซึ่งปริมาณเลือดที่น้อยเหล่านี้จะไปเลี้ยงสมองและหัวใจเป็นสำคัญ  อย่างไรก็ตามเนื้อเยื่อทั่วร่างกายยังคงอยู่ในภาวะขาดออกซิเจนอยู่ เนื้อเยื่อที่ขาดออกซิเจนนี้จะเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจน ช่วยอันทำให้เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดตามมา ระบบกรด-ด่างที่ผิดปกตินี้จะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อยาและการช้อกไฟฟ้าที่ หัวใจได้ไม่ดีนัก
การที่เราจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้ประสบความสำเร็จ เราควรมารู้ความหมายและทำความเข้าใจกับคำเหล่านี้เสียก่อน คำว่า Airway and  Breathing
ความหมาย
Airway  หมายถึง  ทางเดินหายใจทั้งส่วนต้น (upper airway) และส่วนปลาย ( lower airway) เมื่อเกิดปัญหาการอุดกั้นหรือเกิดพยาธิสภาพจากโรคทั้งทางด้านอายุรกรรมและ ศัลยกรรม จะทำให้มีผลต่อการหายใจ เกิดภาวะ hypoxia หรือหายใจลำบากมากหรือน้อยตามความรุนแรงของโรค
Breathing  หรือ ventilation  เป็นขบวนการที่นำ O2 จากอากาศเข้าสู่ปอด และ CO2 ถูกขับออกมาจากปอด เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้ หรือหายใจไม่เพียงพอจากสาเหตุใดก็ตาม หลังจากเปิดทางเดินหายใจให้มี airway patency ดีแล้ว จะต้องให้มี ventilation เพื่อให้ปอดมีการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่ให้เกิดภาวะ hypoxia
Definite airway  ได้แก่ การใส่ท่อหายใจเข้าหลอดลมพร้อมทั้งมี cuff inflation  และต่อท่อหายใจกับออกซิเจนเพื่อช่วยการหายใจได้  ประกอบด้วย 3 วิธีการคือ การใส่ orotracheal tube, nasotracheal tube และ surgical airway (คือ cricothyroidotomy หรือ tracheostomy
ขอบเขต  
การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ในส่วนที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ (airway) และความผิดปกติของการหายใจ (breathing) เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะต้องมี early detection และ definite care เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด hypoxia1   การขาดออกซิเจนในเลือดที่ไปสู่สมองและอวัยวะที่สำคัญเป็นสาเหตุการตายใน ผู้ป่วยอุบัติเหตุ  อย่าให้เกิดการอุดกั้นทางหายใจ และต้องให้มีการหายใจ (ventilation) อย่างเพียงพอ รวมทั้งการให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
การตายของผู้ป่วยจากปัญหาระบบทางเดินหายใจเกิดจากไม่สามารถสังเกตความผิด ปกติและดูแลช่วยเหลือได้ เช่น การใส่ท่อหายใจผิดที่หรือเลื่อนหลุด รวมทั้งการสำลักอาหารเข้าหลอดลม
องค์ประกอบ
องค์ประกอบของการเกิดปัญหาด้าน Airway และ Breathing ต้องพิจารณาถึงสาเหตุ อาการและอาการแสดง  ตลอดจนการวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็ว
Airway
1.Recognition of airway obstruction  
-  Tachypnea  หายใจเร็วเป็นอาการแสดงลำดับแรกที่พบได้จะต้องประเมินซ้ำดูเป็นระยะว่าผู้ป่วยจะมีการหายใจเพียงพอหรือไม่
-  การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้ตัว ซึ่งจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงและเกิดอันตรายต่อการหายใจ ลิ้นอาจตกไปด้านหลัง อุดกั้นทางหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือมีการบาดเจ็บที่ศีรษะ ได้ยาบางชนิด อาจมีเสมหะ เลือด หรือสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลม ต้องให้ definite airway, ออกซิเจน และช่วยการหายใจ
-  ผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นทางหายใจทั้งหมด (totally obstructed airway) พบว่าทรวงอกจะไม่ยกขึ้น, มีอาการเขียวคล้ำ, หมดสติ เช่น สำลักก้อนอาหาร ผู้ป่วยจะจับบริเวณคอ ไม่มีเสียง และหมดสติอย่างรวดเร็ว อาจต้องทำ Hemlich maneouver2   ถ้ามีเศษอาหารใน oropharynx จะมีความเสี่ยงสูงที่จะสำลักเข้าหลอดลม ต้อง suction ทันที พร้อมกับจับผู้ป่วยตะแคงทั้งตัวมาด้านข้าง1   
-  ผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นทางหายใจบางส่วน (partially obstructed airway) อาการจะขึ้นกับตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกั้น จะมีเสียง stridor, ผู้ป่วยมักจะนั่ง และใช้กล้ามเนื้อช่วยหายใจ เสียง wheezy จะเป็น lower airway obstruction อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น asthma
-  ผู้ป่วยที่มี thoracic injuries จะหายใจลำบาก ต้องตรวจดูว่ามี pneumothorax, tension pneumothorax หรือ flail chest หรือไม่
-  ผู้ป่วย maxillofacial trauma ต้องให้การดูแลเรื่องทางหายใจอย่างรวดเร็ว การบาดเจ็บของ midface นำไปสู่ fracture dislocation ของ facial bones และอันตรายต่อ nasopharynx และ oropharynx ร่วมกับการมีเลือดออก, มีเสมหะ, ฟันหัก มีปัญหาต่อการหายใจ  ผู้ป่วยที่มีกระดูก mandible หักทั้ง 2 ข้างจะเสียการยึดของกระดูก มีผลต่อการเปิดทางหายใจและเกิดการอุดกั้นได้เมื่อนอนหงาย
-  ผู้ป่วยบาดเจ็บบริเวณคอ และการบาดเจ็บหลอดเลือดจะมีเลือดออกและเบียดทางหายใจได้เกิดการอุดกั้นได้ ถ้าใส่ท่อหายใจไม่ได้จะต้องใช้ surgical airway อย่างรีบด่วน  กรณีที่มี disruption ของกล่องเสียงและหลอดลม อาจมีเลือดไหลเซาะเข้าเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ควรต้องให้ definite airway โดยใส่ท่อหายใจด้วยความระมัดระวัง หรือ surgical airway
-  ผู้ป่วยที่มี laryngeal trauma จะมีเสียงแหบ, subcutaneous emphysema และคลำได้ว่ามี fracture ของกล่องเสียง ถ้าจะต้องใส่ท่อหายใจ ควรใช้ flexible endoscopic-guided หรืออาจต้องเจาะคอฉุกเฉิน กรณีที่จำเป็นที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างรีบด่วน อาจทำ cricothyroidotomy
- ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง อาจเป็นสาเหตุทำให้มีการอุดกั้นทางหายใจจากลิ้นตก และหายใจไม่เพียงพอได้
ผู้ป่วยที่พูดได้ แสดงว่าไม่น่ามีอันตรายต่อทางหายใจและการหายใจ รวมทั้งเลือดไปเลี้ยงสมองปกติ ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมและมีการปรับระดับความรู้ตัว น่าจะมีปัญหาเรื่องทางหายใจและการหายใจ  
2.Signs of airway obstruction
อาการแสดงของ airway obstruction
- Look จากการดูผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายหรือซึม ซึ่งแสดงว่าอาจมีภาวะ hypoxia หรือ hypercarbia อาจพบ cyanosis โดยดูจากเล็บและรอบๆ ริมฝีปาก แสดงถึง oxygenation ไม่เพียงพอ อาจพบมีการใช้กล้ามเนื้อช่วยหายใจร่วมด้วย
-  Listen  จะได้ยินเสียงหายใจดังผิดปกติ เสียงกรน (snoring), เสียงสำลัก (gurgling) หรือ stridor แสดงถึงการอุดกั้นทางหายใจบางส่วนบริเวณคอหอย (pharynx) และกล่องเสียง (larynx) ถ้าเสียงแหบแสดงถึงการอุดกั้นบริเวณกล่องเสียง
-  Feel     คลำบริเวณหลอดลม เพื่อดูว่ามี thrill หรือไม่
Breathing
การหายใจ (breathing/ventilation) เป็นขบวนการนำอากาศที่มี O2 เข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนให้ CO2 ถูกนำออกมาจากปอด การหยุดการหายใจอาจมาจาก airway obstruction หรือการกดการหายใจ เช่น จากยา narcotics ก็ได้ ผู้ป่วยอาจใช้กล้ามเนื้อช่วยหายใจ, มีเหงื่อออก ไม่สามารถพูดจบประโยค อาจหายใจเร็ว มากกว่า 30 ครั้ง/นาที หรือช้าน้อยกว่า 6-8 ครั้ง/นาที paO2 < 60 mmHg, paCO2 > 60 mmHg2
3.Recognition problem of breathing
ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยมีทางหายใจที่เปิดโล่งซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการนำ oxygen สู่ผู้ป่วย  จากนั้นดูการหายใจ ซึ่งการหายใจที่มีปัญหาอาจเกิดจาก airway obstruction หรือการเปลี่ยนแปลงในกลไกการหายใจ (ventilatory mechanics) หรือการกดระบบประสาทส่วนกลาง(CNS)ต้องตรวจดูว่ามี chest trauma เช่น กระดูกซี่โครงหัก ซึ่งทำให้หายใจลดลงและนำไปสู่ hypoxia หรือคนแก่ที่มีโรคทาง pulmonary dysfunction อยู่ก่อน, intracranial injury หรือ cervical spine injury เหล่านี้ทำให้หายใจลำบาก
4.Signs of inadequate ventilation
อาการแสดงของการหายใจไม่เพียงพอ1,3
-  Look  ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก 2 ข้างเท่ากันหรือไม่, เพียงพอหรือไม่ สังเกต flail chest ทรวงอกจะยกไม่เท่ากัน  นอกจากนี้ถ้าผู้ป่วยหายใจแรงอาจเกิดจากขาด O2 ต้องดูว่าผู้ป่วยมี cyanosis, chest injury หรือใช้กล้ามเนื้อช่วยหายใจด้วยหรือไม่ ระวังการหายใจเร็วอาจเกิด air hunger
- Listen  ฟังเสียงอากาศที่เข้าปอดทั้ง 2 ข้าง ว่าลดลงหรือไม่ได้ยิน อาจมีปัญหาจากการบาดเจ็บของทรวงอก
-  การใช้ pulse oximeter เพื่อดู oxygen saturation และ peripheral perfusion แต่มิได้ดู ventilation ว่าเพียงพอหรือไม่
- Feel   ตรวจดู tracheal shift กระดูกซี่โครงหัก subcutaneous emphysema, pneumothorax หรือ hemothorax หรือไม่
การบริหารจัดการ (Management)1,3
ต้องให้มี patency of airway และ adequate ventilation ให้ออกซิเจนและ monitor pulse oximeter สิ่งที่สำคัญคือต้องมี C-Spine protection โดย in-line manual immobilization ทั้งในการถอดหมวกกันน้อคหรือใส่ท่อหายใจ รวมทั้งการทำ surgical airway
ผู้ป่วยที่มี facial fracture อาจมี cribiform plate fracture ร่วมด้วย การใช้ rigid suction เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะถ้าใช้ soft suction catheter อาจผ่านเข้าสู่ cranial vault ได้
ถ้าผู้ป่วยมี air way obstruction เช่น จาก foreign body ห้าม ให้ยา sedation ทางหลอดเลือดดำเด็ดขาด
Airway management
5.Chin lift  ดึงคางขึ้นไปทางด้านหน้าโดยไม่ทำ hyperextension ของคอ
6.Jaw thrust จับมุมคาง 2 ข้างขึ้นไปข้างหน้า
7.Oropharyngeal airway เลือกขนาดที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ดันลิ้นไปข้างหลังไปอุดทางหายใจ ไม่ใช้ในผู้ป่วยที่รู้ตัว เพราะจะขย้อน อาเจียนและสำลัก การใส่ให้หงาย airway ขึ้นแล้วผ่านไปถึงเพดานอ่อน จึงหมุนกลับ 180O ให้อยู่หลังลิ้น และดันลิ้นมาข้างหน้า  ในเด็กจะไม่ใช้การใส่วิธีนี้ เพราะการหมุน airway อาจอันตรายต่อปากและ pharynx
8.Nasopharyngeal airway ใส่ผ่านจมูกสู่ nasopharynx ใช้ในผู้ป่วยที่พอรู้ตัว  ผู้ป่วยจะทนได้ดีกว่า และไม่ค่อยอาเจียน ต้องตรวจสอบรูจมูกที่จะใส่ว่าไม่มีการอุดตัน และต้องหล่อลื่น airway ที่จะใส่

Definite airway จะทำเมื่อ
ผู้ป่วย apnea
ไม่สามารถ maintain airway patency
เพื่อป้องกัน aspiration
อาจจะเกิดอันตรายต่อทางหายใจ เช่น inhalation injury, facial fracture, retropharyngeal hematoma, หรือชักไม่หยุด
Closed head injury ที่ Glasglow coma score < 8
ไม่สามารถมี oxygenation ได้เพียงพอด้วย face mask

การเปิดทางเดินหายใจนั้นมีหลายวิธี ได้แก่
1.    การเปิดทางเดินหายใจด้วยมือ    (Airway Maneuver)
2    .การใช้หน้ากากช่วยหายใจ     (Bag-Mask Ventilation)
3.    อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจทางเลือก     (Alternative Airways)
4.    การใส่ท่อหลอดลม        (Endotracheal Intubation)

1.    การเปิดทางเดินหายใจด้วยมือ    (Airway Maneuver)
Airway maneuver เป็นวิธีพื้นฐานที่ง่าย, รวดเร็ว, ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย, สามารถเปิดทางเดินหายใจช่วยผู้ป่วยได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่อุปกรณ์ไม่พร้อม เช่น ในสถานที่เกิดเหตุ, ในรถพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นขั้นตอนแรกในการเริ่มกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) อีกด้วย
การจัดท่าก่อนเริ่มเปิดทางเดินหายใจ ควรจัดให้ผู้ป่วยนอนราบบนพื้นแข็งในท่าหงายและ มือของผู้ป่วยอยู่ข้างลำตัว Head tilt-Chin lift โดยผู้ช่วยเหลือใช้มือข้างหนึ่งจับหน้าผากผู้ป่วย และมืออีกข้างประคองคอด้านหลังของผู้ป่วย จัดให้ศีรษะของผู้ป่วยอยู่ในท่าเงยหน้าเล็กน้อย (Sniffing position) เมื่ออยู่ในท่าที่เหมาะสมแล้วมือข้างที่จับหน้าผากกดศีรษะของผู้ป่วยไว้เบาๆ เพื่อให้ไม่ขยับ จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งจับใต้ปลายคางผู้ป่วยยกขึ้นในแนวตั้งฉากกับพื้น โดยระวังไม่ให้กดเนื้อส่วนใต้คางมากเกินไป การทำ Head tilt-chin lift นี้ เหมาะสำหรับทำในผู้ป่วยที่มั่นใจว่าไม่มีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังบริเวณ คอ เนื่องจากการจับผู้ป่วยเงยหน้าในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บกระดูกต้นคออยู่แล้ว จะมีการขยับของกระดูกต้นคอและเกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นได้
Jaw-thrust วิธีนี้ ผู้ช่วยเหลือต้องอยู่ด้านศีรษะของผู้ป่วย จากนั้นใช้มือทั้งสองข้างจับบริเวณมุมของขากรรไกร (Angle of mandible) และยกขากรรไกรของผู้ป่วยขึ้น พร้อมๆ กับใช้นิ้วนิ้วหัวแม่มืออยู่บริเวณปลายคางของผู้ป่วยเพื่อช่วยเปิดปาก ผู้ป่วย

2    การใช้หน้ากากช่วยหายใจ    (Bag-Mask Ventilation)
ผู้ปฏิบัติควรรู้จักการใช้ bag-mask device เพื่อช่วยหายใจเป็นอย่างดี การบีบ bag-mask deviceควรให้tidal volumeที่มากพอให้หน้าอกยกตัวขึ้น(tidal volume 6-7มล./กก.หรือ 500-600มล.) นอกจากนี้ควรทำการยกคาง (chin lift)พร้อมกับจับหน้ากากให้แนบหน้า  การกดหน้าอกและเป่าปากทั่วไปใช้อัตรากดหน้าอก:เป่าปาก=30:2 แต่เมื่อใส่ท่อช่วยหายใจเช่น ท่อหลอดลม
( endotracheal tube), esophageal-tracheal combitube (Combitube), หรือ laryngeal mask airway (LMA)แล้วก็ควรเปลี่ยนเป็นช่วยหายใจในอัตรา8-10ครั้ง/นาทีและกดหน้าอกใน อัตรา100ครั้ง/นาทีโดยทำต่อเนื่องกันไป (ถ้าผู้ป่วยไม่ได้มีหัวใจหยุดเต้นก็อาจบีบช่วยหายใจผ่านท่อในอัตรา10-12 ครั้ง/นาที) ในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดลมอุดกั้นรุนแรงก็ควรบีบช่วยหายใจ6-8ครั้ง/นาทีเพื่อ ป้องกันการเกิดautopeepซึ่งจะทำให้มีความดันเลือดตกได้  การใช้ Bag-mask ventilationอาจทำให้ลมเข้าไปในกระเพาะมากจนก่อการสูดสำลักเศษอาหารเข้าปอด และเกิดปอดอักเสบได้ง่าย นอกจากนี้ถ้าลมเข้ากระเพาะมากก็จะดันกะบังลมขึ้นทำให้การขยายตัวของปอดและ การแลกเปลี่ยนแกสได้ไม่ดี
3.    อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจทางเลือก (Alternative Airways)
อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจทางเลือกนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งมีใช้กันแพร่หลายและใช้ได้ง่าย รวมทั้งไม่ต้องการความชำนาญเป็นพิเศษ ได้แก่ Laryngeal Mask Airway และ Esophageal Tracheal Combitube  การใส่ท่อช่วยหายใจเหล่านี้ควรทำด้วยความรวดเร็วและขัดขวางการกดหน้าอกให้ น้อยที่สุด ในบางรายอาจต้องเลือกทำการกดหน้าอกร่วมกับการช้อกไฟฟ้าหัวใจเป็นสำคัญก่อน การพยายามใส่ท่อให้ได้  นอกจากนี้ควรมีการเตรียมอุปกรณ์ช่วยหายใจไว้หลายชนิดเพื่อว่า ถ้าผู้ป่วยอยู่ในกรณีใส่ท่อหลอดลมยากก็จะได้เปลี่ยนใช้อุปกรณ์อื่นแทน  โดยทั่วไปการใช้bag mask  deviceถือเป็นการช่วยหายใจเบื้องต้นและชั่วคราวที่จำเป็นต้องมีในห้อง ฉุกเฉินในระหว่างรอหาอุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นๆ หลังใส่ท่อหลอดลมได้แล้วก็ควรกดหน้าอก:ช่วยหายใจในอัตรา100ครั้ง/นาที:ช่วย หายใจ8-10ครั้ง/นาที และควรเปลี่ยนตำแหน่งกันทุก2นาทีเพื่อไม่ให้ผู้กดหน้าอกล้าอ่อนแรงจนทำให้ การกดหน้าอกไม่มีประสิทธิภาพ
3.1    Oropharyngeal Airways
ควรใช้ในผู้ป่วยที่หมดสติซึ่งไม่มีgag reflex  ถ้าใส่ไม่ถูกวิธีก็อาจดันลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจได้   vอุปกรณ์นี้ใช้ร่วมกับ bag-mask deviceเพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจให้โล่งได้
3.2     Nasopharyngeal Airways
สามารถใช้เปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยการใส่ผ่านทางจมูก ผลแทรกซ้อนอาจมีเลือดกำเดาไหลได้
3.3    Esophageal-Tracheal Combitube
อุปกรณ์นี้ใช้เปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจได้ดี วิธีใส่ค่อนข้างง่าย บุคลากรที่ไม่ใช่แพทย์ก็สามารถใส่ได้   เป็นที่ยอมรับให้ใช้เครื่องมือนี้ในการช่วยหายใจในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น ได้
ผลแทรกซ้อนอาจเกิดจากบาดเจ็บต่อหลอดอาหารจนกระทั่งเกิดหลอดอาหารทะลุแล้วตามมาด้วย subcutaneous emphysemaได้


รูปที่1  Esophagotracheal Combitube (http://vam.anest.ufl.edu/airwaydevice/combitube/images/combioverview.jpg)

Esophageal Tracheal Combitube (Combitube) มีลักษณะค่อนข้างคล้ายท่อหลอดลม (Endotracheal tube) แต่จะมีสอง lumen และมีcuffสองอัน ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใส่ได้โดยไม่ต้องเห็นเส้นเสียง โดยไม่ว่าจะใส่เข้าหลอดอาหาร หรือหลอดลม ก็สามารถช่วยหายใจให้ผู้ป่วยได้ทุกกรณี


รูปที่2 ตำแหน่งของ Esophagotracheal Combitube (http://www.med.univ-rennes1.fr/resped/s/rea/anes/combidsoeso.jpg)

อุปกรณ์เหล่านี้จัดเป็น อุปกรณ์ช่วยหายใจทางเลือก เนื่องจากสามารถใช้ได้ชั่วคราวเท่านั้นไม่สามารถช่วยหายใจได้นานหลายวันนัก  เป็นการใช้เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยเบื้องต้นก่อนจะได้รับการใส่ Definite airway ต่อไป
3.4     Laryngeal Mask Airway (LMA)
วิธีนี้ไม่สามารถป้องกันการสูดสำลักลงปอดได้ แต่ยังคงพบอุบัติการณ์นี้น้อยกว่าการใช้ bag-mask deviceอยู่ดี  เครื่องมือนี้ช่วยเปิดทางเดินหายใจได้ถึง71.5% - 97%ในผู้ป่วยที่หยุดหายใจ  วิธีการใส่ท่อค่อนข้างง่ายเพราะใส่ได้ทันทีและบุคลากรที่ไม่ใช่แพทย์ก็ สามารถใส่ได้ นอกจากนี้ยังทำในสถานที่แคบได้และไม่ต้องขยับคอของผู้ป่วย  มีการยอมรับให้ใช้อุปกรณ์นี้ช่วยหายใจในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นได้
Laryngeal Mask Airway (LMA) เป็นอุปกรณ์ลักษณะคล้ายท่อช่วยหายใจปกติ แต่จะขนาดใหญ่กว่า สั้นกว่าปลายจะออกแบบให้ครอบกล่องเสียงได้พอดีและมีcuffสำหรับใส่ลมเพื่อให้ กระชับกับกล่องเสียง (Larynx)  การใส่ LMA นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ไม่ต้องเห็นเส้นเสียงก็สามารถใส่ได้ บุคคลากรที่ไม่ใช่แพทย์ที่ผ่านการฝึกใช้มาแล้วย่อมสามารถใส่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จึงทำให้ LMA เป็นทางเลือกที่ดีมากเพื่อซื้อเวลาในหลายสถานการณ์ ตั้งแต่นอกโรงพยาบาล   ในที่เกิดเหตุ หรือในสถานการณ์ที่ไม่สามารถใส่ท่อหลอดลมตามปกติได้ (Failed intubation)


รูป3  Intubating  laryngeal mask airway( I-LMA ) (http://www.Imana.com/images/img-fastrach.jpg

รูปที่ 4 การใส่laryngeal mask airway (http://www.merck.com/media/mmpe/figures/figure1sec6ch64_eps.gif)


รูปที่ 5 ตําแหน่งของ laryngeal mask airway ในทางเดินหายใจ(http://www.mcqs.com/new_aipg/images/Ima.gif)

สรุป
การช่วยหายใจเพื่อทำการกู้ชีพนั้น ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของ  Aurway and Breathing เพื่อนำไปสู่สิ่งสำคัญ คือการ early detection และ definite care เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด hypoxia ซึ่งการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญๆ เป็นสาเหตุการตายในผู้ป่วยอุบัติเหตุ วิธีการช่วยหายใจเพื่อทำการกู้ชีพนั้น ผู้ปฏิบัติควรเริ่มให้การช่วยหายใจด้วยการใช้ bag-mask device รวมทั้งรู้จักการเปิดทางเดินหายใจให้โล่งในหลายวิธี ถ้าผู้ปฏิบัติใส่ท่อหลอดลม(endotracheal tubes) ได้แล้วก็ควรทราบวิธียืนยันว่าท่อนั้นอยู่ในหลอดลมจริงเพื่อให้สามารถช่วย หายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรทราบทั้งวิธีการใช้ ข้อบ่งชี้และผลแทรกซ้อนที่เกิดจากการเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจแต่ละอย่าง เป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง
1.Marx John A.,Hockberger Robert S., Walls Ron M.,et al. Rosen’s emergency medicine:concepts and clinical practice. 6th ed.philadelphia:Mosby Elsevier;2006:1078-1154
2.Tintinalli Judith E.,MD,MS, Kelen Gabor D.,MD,Stapczynski J. Stephan,MD,et al.ำmergency  Medicine :a comprehensive study guide.6th ed. New York :McGraw-Hill;2004:437-486
3.สุทธิพงศ์ ลิมปิสวัสดิ์,ประสาทนีย์ จันทร, ทนันชัย บุญบูรพงศ์ และคณะ. Respiratory care :thepry and applications. หน่วยช่วยหายใจ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี.กรุงเทพ;2542:1-96

ประกาศคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ